• ตั๋วเครื่องบินอเมริกา

ไขปริศนา รูปปั้นโมอาย เกาะอีสเตอร์ ความลึกลับที่ซ่อนอยู่ใต้ผืนดิน

ไขปริศนา รูปปั้นโมอาย เกาะอีสเตอร์ ความลึกลับที่ซ่อนอยู่ใต้ผืนดิน

     ตำนานเรื่องรูปปั้นหินยักษ์หน้าคน โมอายแห่งเกาะอีสเตอร์ Moai Easter Island ถือเป็นเรื่องที่ยังชวนสงสัยถึงจุดประสงค์ในการสร้าง และวิธีในการเคลื่อนย้ายหินที่หนักร่วม 10 ตัน ไปวางตามตำแหน่งสำคัญของเกาะ แต่เพราะความลึกลับนี้แหละที่ดึงดูดให้มีนักท่องเที่ยวเดินทางไปยังเกาะอีสเตอร์มากมายทุกปี ทั้งที่เกาะนี้แทบจะไม่มีอะไรเลยนอกจากภูเขาหิน ชายหาด และผืนดินอันสุดแสนจะเวิ้งว้างว่างเปล่า  ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับข้อมูลทั่วไปของเกาะนี้กันสักนิดดีกว่า เกาะอีสเตอร์ (Easter Island) ภาษาท้องถิ่นเรียก ราปา นุย (Rapa Nui) และภาษาสเปนเรียกว่า ปัสกวา (Isla de Pascua) เป็นเกาะที่อยู่กลางมหาสมุทรแปซิฟิคอย่างโดดเดี่ยว ห่างจากชายฝั่งประเทศชิลีกว่า 3,600 กิโลเมตร ขนาดของเกาะก็ไม่ได้มากมายอะไร มีพื้นที่เพียง 160 ตารางกิโลเมตร มีความยาว 25 กิโลเมตร ก่อนจะมีคนมาอยู่อาศัย ที่นี่ก็มีแค่นกทะเล และแมงปอเท่านั้นเอง



 
     แต่เดิมเกาะนี้ไม่ได้ชื่อว่าอีสเตอร์แต่แรกด้วย แต่เพราะผู้ค้นพบเกาะคนแรก จาค็อบ ร็อกเกวีน (Jacob Roggaveen) นักเดินเรือชาวดัตช์ แล่นเรือมาพบเกาะในวันอีสเตอร์ของปี ค.ศ.1722 จึงตั้งชื่อเกาะว่า อีสเตอร์ นั่นเอง ส่วนรูปปั้นยักษ์แกะสลักเป็นหน้าคน โมอาย (Moai) ที่เรียกได้ว่าเป็นพระเอกตัวจริงของที่นี่ เชื่อกันว่าเป็นผลงานของชาว โพลีนีเซียน (Polynesian) ที่เข้ามาปกครองเกาะนี้ในช่วงปี 1250 จำนวนของรูปปั้นนั้นกระจายอยู่ทั่วทั้งเกาะประมาณ 887 ตัว รวมทั้งตัวที่ยังแกะสลักไม่เสร็จ และเสียหายระหว่างการขนย้ายด้วย บางตัวมีแค่ส่วนหัว บ้างก็มีส่วนลำตัวที่ส่วนใหญ่ถูกฝังอยู่ใต้ดิน ขนาดของตัวโมอายที่ใหญ่ที่สุดนั้นสูงถึง 30 ฟุต (ประมาณ 10 เมตร) น้ำหนัก 82 ตัน  ที่สำคัญคือโมอายเกือบทั้งหมดถูกแกะสลักออกมาจากหินก้อนเดียวกัน ออกมาจากเหมืองหิน ราโน ราราคู (Rano Raraku) แกะสลักโดยใช้หินภูเขาไฟซึ่งมีความแข็ง และคมกว่าหินในเหมืองหิน ภายในยังมีโมอายอีกหลายชิ้นที่ยังอยู่ในกระบวนการแกะสลัก ราวกับว่าเหมืองถูกทิ้งร้างไปแบบกระทันหันโมอายบางตัวจะมีหมวกสีแดงที่เรียกว่า พูคาโอ (Pukao) เป็นชิ้นต่างหากบนหัว ประดับส่วนลูกตาด้วยปะการังขาวแกะสลัก เชื่อกันว่าเป็นสัญลักษณ์แทนเทพเจ้า หรือหัวหน้าเผ่าผู้ล่วงลับไปแล้ว หรือผู้ที่มีความสำคัญในสมัยนั้น

 จากที่นักโบราณคดีพยายามขุดลงไปเพื่อศึกษาส่วนลำตัวเพิ่มเติม พบว่ามีการแกะสลักวงแหวน และผ้าคาดเอว รวมไปถึงสัญลักษณ์อื่นๆ อีกมากที่ยังไม่มีผู้ใดเข้าใจความหมายของมัน บ้างก็ว่าอาจเป็นรอยสักแบบดั้งเดิมของชาวราปา นุย หรืออาจเป็นการบอกเล่าเรื่องราวของผู้ล่วงลับก็เป็นได้ทฤษฎีเรื่องการเคลื่อนย้ายโมอายจากเหมืองไปวางยังตำแหน่งต่างๆ บนเกาะนั้นก็ยังคลุมเครือ แต่ก็สันนิษฐานกันว่าน่าจะมีการใช้แรงงาน และไม้ซุงเป็นจำนวนมากเพื่อลากโมอายลงจากภูเขากระทั่งช่วงค.ศ. 1700 บนเกาะแห่งนี้ได้เกิดสงครามเพื่อแย่งชิงอำนาจการปกครองบนเกาะกัน รวมไปถึงมีการใช้สิทธิขาดในการใช้ทรัพยากร รูปปั้นหินโมอายจึงถูกเลิกสร้างไปโดยปริยาย รวมไปถึงการถูกยึดครองโดยคณะมิชชันนารีที่เดินทางมายังเกาะ และเริ่มทำการกลืนวัฒนธรรมของคนบนเกาะไป เรื่องราว และตำนานของโมอายจึงสูญหายไป  ปัจจุบัน รูปปั้นโมอายแห่งเกาะอีสเตอร์ ได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในมรดกโลก โดย UNESCO และได้การจัดตั้งองค์กรขึ้นมาเพื่อศึกษาเรื่องราวของมันอย่างจริงจัง ประกอบกับในปีค.ศ.1888 เกาะนี้ถูกผนวกรวมเข้ากับประเทศชิลี และมีการสร้างสนามบินขึ้น เกาะอีสเตอร์จึงกลายมาเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของโลกอีกแห่งหนึ่งในที่สุด  ช่วงสองสัปดาห์แรกของเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี จะมีนักท่องเที่ยวเดินทางมายังเกาะอีสเตอร์กันอย่างอุ่นหนาฝาคั่ง เพื่อร่วมงานเทศกาลทาปาติ (Tapati) ซึ่งเป็นงานเฉลิมฉลองของเกาะ งานจะมีทั้งการละเล่น การแสดง อาหาร แข่งกีฬา และดนตรีพื้นเมืองต่างๆ สร้างความประทับใจให้แก่นักท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี





ขอขอบคุณข้อมูลจาก https://travel.trueid.net/detail/2pVl7M73aEP

ค้นหาบทความ

ทัวร์แนะนำ

  • ลูกบาส
  • ที่ปรึกษาการท่องเที่ยวต่างประเทศ
  • ทัศ
  • ที่ปรึกษาการท่องเที่ยวต่างประเทศ
  • เตย
  • ที่ปรึกษาการท่องเที่ยวต่างประเทศ
  • เอ๋
  • ที่ปรึกษาตั่วเครื่องบินในประเทศ-ต่างประเทศ องค์กรเอกชน, หน่วยงานราชการ, รัฐวิสาหกิจ ลูกค้าทั่วไป
  • เนตร
  • ที่ปรึกษาตั่วเครื่องบินในประเทศ-ต่างประเทศ องค์กรเอกชน, หน่วยงานราชการ, รัฐวิสาหกิจ ลูกค้าทั่วไป
  • ตุ้ม
  • ที่ปรึกษาตั่วเครื่องบินในประเทศ-ต่างประเทศ องค์กรเอกชน, หน่วยงานราชการ, รัฐวิสาหกิจ ลูกค้าทั่วไป
  • พี
  • แผนกกรุ๊ปเหมาทั้งในประเทศและต่างประเทศ
DEPARTMENT OF TOURISM
Thai Travel Agents Association
Amazing Thailand Safety and Health Administration (SHA)